image

         นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ประกาศเจตนารมณ์และแสดงวิสัยทัศน์ของรัฐสภาต่อการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ในเวทีสัมมนา Climate Action & Business Strategy Towards Carbon Neutrality ภายใต้โครงการส่งเสริมการชดเชยคาร์บอนขององค์กรเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (ระยะที่ 2) ซึ่งจัดขึ้นโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)  ร่วมกับศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (วีกรีน) คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ ห้องเมจิก 2  ชั้น 2 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร มีผู้บริหารจากกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์ และภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล บริษัท เดนโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท ซีพีเอฟ ฟู้ด แอนด์ เบเวอร์เรจ จำกัด ร่วมประกาศเจตนารมณ์เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)

        รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง กล่าวแสดงเจตนารมณ์ใจความสำคัญว่า รัฐสภาตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นประเด็นเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญต่อประชาคมโลก รวมทั้งประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศสุดขั้วและความรุนแรงของภัยธรรมชาติ อันส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างมาก จึงต้องการมีส่วนร่วมในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นการตอบสนองต่อนโยบายระดับชาติในการเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2025 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 ซึ่งนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา แสดงความมุ่งมั่นและประกาศเจตนารมณ์รัฐสภาสีเขียวมุ่งสู่ Carbon Neutrality & Net Zero ภายในปี ค.ศ. 2032 จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนไปสู่รัฐสภาสีเขียว (Green Parliament) โดยมีรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานกรรมการฯ และมีแนวทางในการดำเนินงานของรัฐสภา ด้วยวิธีการ 6 ประการ ปรกอบด้วย การสร้างความรู้และเข้าใจ เกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปยังสมาชิกรัฐสภา ข้าราชการ ประชาชนทุกภาคส่วนการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกด้วยมาตรการ วัด ตั้งเป้า ลด ชดเชย การกำหนดแผนดำเนินงานในการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีฐาน ในปี ค.ศ. 2025 โดยอ้างอิงข้อมูลกิจกรรมปี ค.ศ. 2024 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคมการวางแผนลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวน 11 โครงการ เช่น ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ใช้พลังงานหมุนเวียน ใช้เทคโนโลยีติจิตอล จัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ คัดแยกขยะ จัดประชุม สัมมนา และ คาร์บอนนิวทรัลอีเว้นท์ รวมทั้ง เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อเป็นแหล่งดูดจับและกักเก็บคาร์บอน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมและก๊าซเรือนกระจก การเป็นต้นแบบที่ดีให้สังคม ร่วมกันดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและมีส่วนร่วมในการช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

        รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนรัฐสภาสีเขียว กล่าวด้วยว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่รัฐสภาได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 6 องค์กรเข้าร่วมโครงการฯ ที่ผ่านมารัฐสภาได้มีการริเริ่มดำเนินงานตามมาตรฐานสำนักงานสีเขียว Green Office ทั้งในส่วนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา โดยมุ่งเป้าในการดำเนินงานที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน รวมทั้งช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลากหลายด้าน เช่น มาตรการประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ มาตรการคัดแยกขยะ และมาตรการดูแลรักษาพื้นที่สีเขียว ปัจจุบันรัฐสภาได้จัดทำแผนแม่บทการขับเคลื่อนไปสู่รัฐสภาสีเขียว (Green Parliament) ปี ค.ศ. 2025 – 2032 และแผนปฏิบัติการการขับเคลื่อนใปสู่รัฐสภาสีเขียว (Green Parliament) ระยะ 3 ปี (ค.ศ. 2025 - 2027) เรียบร้อยแล้ว เพื่อประกาศให้ส่วนราชการภายใต้สังกัดรัฐสภาทราบและถือปฏิบัติต่อไป และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้จะช่วยยกระดับองค์ความรู้เรื่อง carbon footprint สู่การพัฒนาแผนการดำเนินงานและแนวทางเชิงปฏิบัติในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการสนับสนุนแผนการดำเนินงานตามนโยบาย Green parliament ในการจัดทำข้อมูลบัญชีรายการก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นระบบ การกำหนดปีฐานประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดทำแผนปฏิบัติการ และแนวทางการดำเนินงานในการเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ กำหนดปีเป้าหมาย และค่าเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งกำหนดตัวชี้วัด และตรวจติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเป็นการจำแนกทรัพยากรและงบประมาณที่จำเป็นเพื่อดำเนินการตามมาตรการการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ ให้สำเร็จตามค่าเป้าหมายที่กำหนด

ลักขณา เทียกทอง ข่าว/เรียบเรียง

สำนักประชาสัมพันธ์ สผ. ข้อมูล/ภาพ

ประมวลผลภาพ

วิดีโอ