19 พ.ค. 68 - คณะกรรมาธิการการกฏหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร จัดสัมมนาแก้ไขกฎหมายอายุความ ยกคดีสลายการชุมนุมตากใบ เทียบราชประสงค์ หวังสร้างแนวทางฟื้นฟูความยุติธรรม

image

            นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฏหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานเปิดการสัมมนา เมื่อความยุติธรรมหมดอายุ จากตากใบถึงราชประสงค์ แก้กฎหมายอายุความ หยุดการพ้นผิดลอยนวล โดยนายกมลศักดิ์ กล่าวว่า จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมตากใบที่ผ่านมา ถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่ง ของความเป็นธรรม ที่สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการยุติธรรมของรัฐไทยที่ถูกละเลย จึงนำไปสู่การเรียกร้องและการฟ้องร้องคดีในการต่อสู้ของประชาชนด้วยตนเอง แม้ว่าในอดีตที่ผ่านมาเรื่องตากใบจะไปไม่สุด แต่ได้บทเรียนหลาย ๆ อย่าง ตากใบต่อจากนี้จะยังไม่เงียบ เพราะเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2567 นายรอมฎอน ปันจอร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) กมธ. และตนได้ยื่นญัตติด่วนเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร ก่อนจะมีการตั้งคณะอนุกมธ.ศึกษาคดีตากใบที่ขาดอายุความ คณะอนุ กมธ. ชุดนี้ค้นพบในหลายเรื่องที่จะนำไปสู่การแก้ไขโครงสร้างของกระบวนการยุติธรรม คาดว่าเร็ว ๆ นี้จะมีรายงานของคณะอนุกมธ.การศึกษาชุดดังกล่าวนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาเพื่อเสนอฝ่ายบริหารต่อไป สำหรับการเสวนาครั้งนี้ตนเชื่อว่า จะเป็นการลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ตากใบจนถึงราชประสงค์ ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้ยังตรงกับวันครบรอบการสูญเสียของคนเสื้อแดง ซึ่งผ่านมาแล้วกว่า 15 ปี และเหลืออีก 5 ปีจะหมดอายุความ การแสดงความคิดเห็นตลอดการเสวนาจะเป็นประโยชน์ให้กับกระบวนการยุติธรรมในไทย และนำไปสู่การแก้ไข หรือการเดินหน้าของคดีที่ค้างอยู่ในกระบวนการยุติธรรมในหลายเหตุการณ์ โดยเฉพาะคดีตากใบที่จะนำไปสู่คดีราชประสงค์

          จากนั้นเป็นการเสวนาจากตากใบถึงราชประสงค์ ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความอยุติธรรม โดยนายมูฮำมะซาวาวี อูเซ็ง ตัวแทนผู้เสียหายคดีการชุมนุมตากไบ ได้กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนเป็นกระบอกเสียงของเรื่องราวที่เจ็บปวดนี้ ซึ่งตนเสียใจกับความสูญเสียตลอดระยะเวลา 20 ปี แม้ว่าผู้ที่ถูกกระทำจะอยู่ในศาสนาใดก็ตาม ตนยืนยันว่าไม่มีใครดีใจกับเหตุการณ์ความสูญเสียในพื้นที่ชายแดนใต้ ซึ่งเหตุการณ์ตากใบเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ทุกข์ทรมาน ที่รอความกระจ่างและรอความยุติธรรมให้ปรากฏขึ้น แม้ว่าขณะนี้จะยังไม่ได้รับก็ตาม ที่ผ่านมาประชาชนผู้สูญเสีย ซึ่งเป็นผู้ถูกกระทำ โดยไม่ได้รับการคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนเป็นการกระทำกับคนด้วยกันที่เหมือนไม่ใช่คน ตนรับไม่ได้ อีกทั้งเหตุตากใบนับเป็นเหตุจงใจที่ทำร้ายประชาชนโดยเจ้าหน้าที่ เพราะการจ่อยิงนั้นเป็นการเล็งเห็นผลอย่างชัดเจน

          ด้านนายรอมฎอน กล่าวย้อนถึงที่มาที่ไปของการฟ้องร้องคดีอาญาต่อศาลในคดีความต่างใบจากญาติผู้สูญเสีย ว่าที่ผ่านมา 19 ปี กลุ่มคนเหล่านี้ไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีสิทธิในการฟ้องร้องเจ้าหน้าที่รัฐ ต้นเหตุของความสูญเสียที่เกิดขึ้น โดยการฟ้องร้องในปีสุดท้ายที่คดีจะหมดอายุความลง ยืนยันว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมือง และไม่เกี่ยวข้องว่าใครเป็นรัฐบาล ตนในฐานะผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ร่วมกันชี้แจงข้อเท็จจริงกับศาล เมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557 มองว่าการที่ศาลประทับรับฟ้องคดีดังกล่าวถือเป็นเรื่องเกินจินตนาการอย่างยิ่ง ไม่คิดว่าคดีตากใบจะเดินทางมาถึงจุดนี้ได้ นอกจากนี้อีกแรงผลักดัน ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือการที่สภาผู้แทนราษฎร โดยคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ได้นำเรื่องดังกล่าวกล่าวเข้าพิจารณา นำไปสู่การรื้อสำนวนคดี ทำให้เรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง อย่างไรก็ตามแม้ว่าคดีนี้จะหมดอายุความไปแล้ว ยังจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฟื้นฟูความยุติธรรมให้เกิดขึ้น

 

ณัฐเดช เอียดปุ่ม /ข่าว /เรียบเรียง

ประมวลผลภาพ

วิดีโอ